ข่าวดี

ในวันที่ 2 สิงหาคม นักเรียนจะได้เรียน วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษ ดีใจด้วยนะคะ เพราะว่าหนังสือมาแล้ว

ตรวจข้อสอบแล้ว

ใครพึงประสงค์จะดูคะแนนติดต่อครูโดยตรงนะคะ

แรง Force

boxing.gif แรง   คืออะไร

ใน ทางวิทยาศาสตร์ คำว่าแรงมีความหมายที่ง่ายและเฉพาะเจาะจง แรง ( Force ) คือ
การผลักหรือการดึง   เมื่อวัตถุชิ้นหนึ่งผลักหรือดึงวัตถุอีกชิ้นหนึ่ง นักเรียนอาจกล่าวได้ว่า  “วัตถุชิ้นแรกออกแรงกระทำต่อวัตถุชิ้นที่สอง นักเรียนออกแรงกระทำต่อปากกาในขณะที่
นักเรียนออกแรงกระทำต่อหนังสือในขณะยกหนังสือ  นักเรียนออกแรงกระทำต่อ         ซิปกางเกงในขณะรูดซิป นักเรียนออกแรงกระทำต่อลูกบอลในขณะที่ขว้างลูกบอล นักเรียนออกแรงกระทำต่อรถในขณะที่นักเรียนเข็นรถ และออกแรงกระทำกับตะปูในขณะที่ใช้ค้อนตอกตะปูลงไปบนแผ่นไม้”

hammer_whitebg.gif

ในทำนองเดียวกับความเร็ว และความเร่ง นอกจากนักเรียนจะต้องบอกว่า แรงที่กระทำนั้นมีค่ามากเท่าไรแล้ว นักเรียนยังต้องบอกทิศที่แรงกระทำด้วย เช่น  ถ้านักเรียนผลักประตู นั่นคือ   นักเรียนกำลังออกแรงใน ทิศตรงข้ามกับในขณะที่นักเรียนดึงมัน

แรงที่ไม่ สมดุล

สมมติว่านักเรียนต้องการผลัก กล่องที่หนักใบหนึ่งไปตามพื้น ในขณะที่นักเรียนผลักกล่อง นั่นคือ    นักเรียนได้ออกแรงกระทำต่อกล่อง    ถ้ามีเพื่อนมาช่วยนักเรียนผลัก    แรงทั้งหมดที่กระทำต่อกล่องก็คือ    ผลรวมของแรงที่นักเรียนและเพื่อนช่วยกันผลัก     ถ้าแรงสองแรงกระทำต่อวัตถุในทิศทางเดียวกัน    แรงทั้งสองจะรวมเข้าด้วยกัน

รูปที่ 1 แสดงถึงการรวมกันของแรงโดยใช้ลูกศรแทนแรง หัวลูกศรแสดงทิศของแรง ความหนาหรือความกว้าง   ของลูกศรแทนขนาดของแรง

wood_next_2.gif +   wood_next_2.gif = wood_next_2.gif

wood_next_2.gif + wood_back.gif = wood_next_2.gif

wood_next_2.gif +   wood_back.gif =               0

รูปที่ 1 ในการรวมแรงสองแรงเข้าด้วยกันผล ลัพที่ได้อาจจะเท่ากับการบวกกันของแรงทั้สอง

( ภาพบน)หรือการลบออกจากกัน (ภาพกลาง)  หรืออาจหักล้างกันหมดไป (ภาพล่าง) เพิ่มเติม

แรง มวล และ กฎการเคลื่อนที่ 01

แรง  มวล  และ  กฎการเคลื่อนที

การเคลื่อของวัตถุแบงสภาพการเคลื่อนที่ออกเป็น 2 ประเภท คือ

สภาพการเคลื่อนที่คงเดิม หมายถึง  อาการที่วัตถุอยู่นิ่งหรือมีความเร็วคงที่ เช่นนักเรียนคนหนึ่งยืนอยู่นิ่งๆ บนพื้น รถยนต์กำลังเบรกอย่างกะทันหัน เป็นต้น

รูป 1  สภาพการเคลื่อนที่คงเดิม

สภาพการเคลื่อนที่เปลี่ยนแปลง หมายถึงอาการที่วัตถุมีการเคลื่อนที่ด้วยความเร่ง เช่น นักเรียนคนหนึ่งกำลังออกวิ่ง รถยนต์กำลังเบรกกะทันหัน  เป็นต้น

รูป 2 สภาพการเคลื่อนที่เปลี่ยนแปลง



ใบงานที่ 2

ให้นักเรียนลองทำใบงานส่งครูนะคะ

โดยวิธีการทำต้องทำด้วยตัวเองนะ เพื่อทดสอบความเข้าใจ

ใบงาน-เรื่อง-การเคลื่อนที่ของวัตถุที่ตกแบบเสรี

การเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง และ วัตถุตกแบบเสรี

หลักการ จุดที่วัตถุขึ้นได้สูงที่สุด จะมีความเร็วเป็นศุนย์ (จุดวกกลับวัตถุจะหยุดนิ่ง)และที่ความสูงระดับเดียวกันจะพบว่า อัตราเร็วขาขึ้นเท่ากับ อัตราเร็วขาลง และเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ขาขึ้นเท่ากับเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ขาลง

สิ่งที่นักเรียนควรทราบนะ

1.การปล่อยวัตถุจากหยุดนิ่ง วัตถุจะมีความเร็วต้นตอนปล่อยมือเป็นศูนย์

2.ความเร็วต้นของวัตถุที่ปล่อยออกจากยานพาหนะจะต้องมีค่าเท่ากับความเร็วของยานพาหะนะ ทั้งขนาดและทิศทางขณะปล่อยวัตถุเสมอ

มีข้อมูลเพิ่มเติสำหรับวันที่ 5 ก.ค.53 โหลดความรู้เพิ่มเติมเรื่องนี้ได้จากที่นี่นะคะ

โรงเรียนบ้านผือพิทยาสรรค์ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี โทร.042-281-279